เกี่ยวกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้เปิดสอนระดับปริญญาตรีเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2517 เดิมมีการบริหารเป็นแบบหมวดวิชา ต่อมาปรับเป็นแบบ ภาควิชา โปรแกรมวิชาและสาขา วิชา ปัจจุบันคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีการจัดการศึกษา 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยในเขตตําบลหมากแข็งและมหาวิทยาลัยในเขตตําบลสามพร้าว มีการจัดการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มศาสตร์ คือ กลุ่มวิชาทางด้านภาษา สังคมศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ รวม 14 หลักสูตร โดยมีการดําเนินการตามพันธกิจสําคัญของมหาวิทยาลัย ได้แก่ การผลิตบัณฑิต ที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะด้านต่างๆ เพื่อผลิตกําลังคนตอบสนองต่อความต้องการตลาดแรงงาน มีการบริการวิชาการให้กับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรมและการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นพันธกิจที่ช่วยขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยท้องถิ่นและประเทศชาติ

วิสัยทัศน์ (Vision)

คณะที่เป็นเลิศด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
Excellence in humanities and social sciences for sustainable local develop- ment

พันธกิจ (Mission)

1. จัดการศึกษาที่ตอบสนองต่อคนทุกช่วงวัย
2. วิจัยและสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นสู่สากล
3. บริการวิชาการที่สอดคล้องต่อความต้องการของท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
ของประชาชน
4. อนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสาน และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม

ค่านิยม (Value)

มีวินัย (Disciplined)
ทันสมัย (Modern)
สร้างสรรค์ (Creative)
รับผิดชอบ (Responsibility)
จิตสาธารณะ (Public Spirited)
สามัคคี (Harmonious)

อัตลักษณ์ (Identity)

Cross-Cultural เข้าใจ/ยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม
Local ประยุกต์ใช้ความรู้กับท้องถิ่น
International พัฒนาสู่สากล
Creative มีความคิดสร้างสรรค์
Knowledgeable มีความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่ศึกษา
Empathize เข้าอกเข้าใจผู้อื่น
Discipline มีระเบียบวินัย

วีดิทัศน์แนะนำคณะ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์พัฒนาชุมชนท้องถิ่นสู่สากล

โดยมีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะการใช้ชีวิตทั้งทักษะพื้นฐานและทักษะสากล สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นมนุษย์ฯที่พร้อมเรียนรู้พัฒนาตนและอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีจิตวิญญาณ มีความรอบรู้ มีจิตบริการสาธารณะ เห็นคุณค่าและเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ซึ่งยึดประโยชน์ของส่วนรวม

โดยกิจกรรมในการเรียนการสอนจึงมีความหลากหลายวิธี กิจกรรมการเรียนรู้จึงมีทั้งในหลักสูตรและเสริมหลักสูตร