ศิลปกรรมบัณฑิต

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรมพื้นถิ่น ระดับปริญญาตรี

รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัส 1273
รหัสหลักสูตร 25621691100074
ภาษาไทย หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรมพื้นถิ่น
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Local Arts

 

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม (ไทย) ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศิลปกรรมพื้นถิ่น)
ชื่อย่อ  (ไทย) Bachelor of Fine and Applied Arts (Local Arts)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) ศป.บ. (ศิลปกรรมพื้นถิ่น)
ชื่อย่อ  (อังกฤษ) B.F.A (Local Arts)

 

การพัฒนา ปรับปรุงกระบวนการ การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษา

ในปีการศึกษา 2565 หลักสูตรศิลปกรรมพื้นถิ่นได้พัฒนา ปรับปรุงกระบวนการควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาตามผลการดำเนินงานดังนี้

  1. กิจกรรมนักศึกษาให้เป็นไปแนวทางเดียวกันเพื่อให้นักศึกษาสามารถรับรู้ข่าวสารการแนะแนวแก่นักศึกษาโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบ ระยะเวลาในการยื่นเรื่องเพื่อดำเนินการต่าง ๆ เช่น การขอทุนกู้ยืม การขอเพิ่มรายวิชา การถอนรายวิชาและการเข้าร่วมกิจกรรมของทางมหาวิทยาลัยตามคำประกาศ
  2. พัฒนาช่องทางการให้คำปรึกษาและการแนะแนวแก่นักศึกษาโดยการตั้งกลุ่ม เฟสบุ๊ค กลุ่มไลน์ และช่องทางอื่นในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้เป็นแหล่งประชาสัมพันธ์ติดต่อในการเรียนการสอน และให้นักศึกษาที่มีปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือในการแนะนำเพื่อช่วยชี้แนะในการแก้ปัญหาได้ทันท่วงที ที่สำคัญสาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้จัดพื้นที่ทำกิจกรรมให้กับนักศึกษาช่วงนอกเหนือจากชั่วโมงเรียน เช่น เล่นดนตรี สนทนากับอาจารย์และเพื่อนพี่นักศึกษาเป็นต้น ในชั่วโมงฮูมรูมหรือเวลาว่างนอกเหนือการเรียน
  3. พัฒนาปรับปรุง สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้มีการพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้เกิดความทันสมัยกับเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา จึงได้พัฒนา ปรับปรุงกระบวนการอันเกิดประโยชน์แก่นักศึกษามากที่สุด โดยพัฒนาเว็บไซต์ของสาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นให้มีการอัพเดตข่าวสารต่างๆ ให้เป็นปัจจุบันมากขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อและช่องทางในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารและช่องทางในการให้บริการข้อมูลในการศึกษาทั้งองค์ความรู้ศิลปกรรมพื้นถิ่นและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมของสังคมมุ่งเป้ากลุ่มเยาวชนเพื่อให้ได้ประโยชน์ เช่น การจัดหาแหล่งทุนงบประมาณสนับสนุนทั้งด้านกิจกรรมและสนับสนุการศึกษาซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อนักศึกษา มีคุณภาพชีวิตที่ดีช่วงระหว่างการศึกษา

 

การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ทศวรรษที่ 21

สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้เล็งเห็นความสำคัญกับการศึกษาปัจจุบันที่เน้นเรื่องเทคโนโลยี นวัตกรรม ที่ทำให้นักศึกษามีประสบการณ์เมื่อจบหลักสูตรจักไปประกอบอาชีพได้ เป็นแผนยุทธศาสตร์การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 การบริหารอาจารย์ประจำหลักสูตรได้จัดทำแผนการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ให้สอดรับกับความต้องการของนักศึกษาปัจจุบัน โดยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี (Action plan) การศึกษา 2565 หลักสูตรกำหนดให้มีการดำเนินงานตามระบบ PDCA โดยมีการกำหนดแผนงาน/กำหนดเป้าหมาย/ผู้รับผิดชอบ/งบประมาณระยะเวลาดำเนินงาน/การสรุปผลการดำเนินงานและแนวทางการดำเนินงานสืบเนื่องจากปีการศึกษา 2564 สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้ปรับปรุงหลักสูตรก่อนโดยอาจารย์ประจำหลักสูตรได้จัดการเรียนการสอนตามอัธยาศัยและหลักสูตรระยะสั้น เพื่อให้นักศึกษาเลือกวิชาเรียนในรายวิชาเอกเลือกและวิชาเสรีตามที่ตนเองสนใจ ซึ่งหลักสูตรศิลปกรรมพื้นถิ่นได้เพิ่มรายวิชาและลดจำนวนหน่วยกิตตามกรอบมาตรฐานสกอ. โดยเป็นชุดรายวิชาด้านนาฏศิลป์ ดนตรี วัฒนธรรม ท่องเที่ยวและการจัดการเป็นต้น  

ดังนั้นปีการศึกษา 2565 สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้จัดการเรียนการสอนที่นักศึกษาศึกษาตามอัธยาศัย หรือหลักสูตรระยะสั้นนักศึกษาสามารถจบภายใน 3 ปี นอกจากนั้นการพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถที่นำความรู้พัฒนาท้องถิ่น ซึ่งสอดรับกับรายวิชาเปิดใหม่ใช้กับนักศึกษารหัส 65  เช่น วิชาการคิดการออกแบบ วิชาภาษาอังกฤษสำหรับศิลปกรรมพื้นถิ่น วิชานี้เป็นวิชาเอกบังคับที่นักศึกษาทุกคนต้องเรียน ในคำอธิบายรายวิชาทั้ง 2 วิชา กล่าวถึง กระบวนการและขั้นตอนของการคิด การออกแบบวิธีการนำการคิดการออกแบบไปประยุกต์ใช้การทำงาน และการดำรงชีวิตประจำวัน จากคำอธิบายรายวิชาดังกล่าวจึงเป็นที่บูรณาการฐานสมรรถนะนำไปสู่กิจกรรมที่จัดขึ้นนอกเหนือจากการเรียนการสอนปกติเพื่อเสริมสร้างความเป็นช่างพื้นถิ่น นักออกแบบและผู้ประกอบการธุรกิจ มุ่งเน้นผลิตผลงานนวัตกรรม สิ่งที่เห็นชัดเจน คือ การออกแบบชุดเสื้อวัยรุ่นโดยใช้ผ้าท้องถิ่นสร้างแบรนด์สินค้าให้กับตนเอง และภาษาอังกฤษสำหรับศิลปกรรมพื้นถิ่นที่นักศึกษาจำเป็นต้องสื่อสารการใช้ศัพท์เฉพาะได้ก้าวทันโลกศตวรรษที่ 21 นอกจากนั้นยังมีวิชาที่นักศึกษาได้เลือกวิชาเอกตามความสนใจตนเอง เช่น วิชาออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา ชุดวิชาที่นักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้ที่มีรายวิชาดังนี้ วิชาการขึ้นรูปด้วยมือ วิชาเนื้อดิน วิชาเตาและการเผาเป็นต้น โดยอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้กำกับดูแลให้นักศึกษาได้เรียนรู้การผลิตเตาเผาดิน ขั้นตอนอุณหภูมิขณะเผาเครื่องปั้นดินเผาด้วยการปฏิบัติจริง และสามารถประยุกต์ใช้กับวิชาศิลปวัฒนธรรมในรายวิชาการจัดการของที่ระลึกท้องถิ่นหรือวิชาการจัดการตลาดดิจิทัลทางศิลปวัฒนธรรมและท่องเที่ยว ซึ่งหลักสูตรมุ่งเน้นการเรียนรู้นอกชั้นเรียนและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้เรียนสามารถออกแบบได้ด้วยตนเอง

 

ระบบกลไก ขั้นตอนการควบคุมดูแลฯ

สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นมีระบบกลไกและการควบคุมดูแลซึ่งมีเป้าหมายพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ให้สอดรับกับสถานะปัจจุบันและอนาคต โดยติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวด้านสังคม เศรษฐกิจ ศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งการศึกษาศตวรรษที่ 21 ที่มีผลกระทบกับนักศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อม  อย่างไรก็ดีสาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้จัดทำแผนรองรับประเด็นสำคัญ คือ จัดแผนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับปัจจุบันและอนาคตโดยให้อาจารย์ประจำรายวิชาทำแผนการสอนรายวิชาที่รับผิดชอบดังนี้ 1) กลุ่มวิชาเฉพาะด้านวิชาเกี่ยวข้องกับศิลปะการออกแบบและวิชานาฏศิลป์ ดนตรี 2) กลุ่มวิชาเอกบังคับ วิชาการคิดการออกแบบ วิชาประวัติศาสตร์ศิลปะพื้นถิ่น วิชาภาษอังกฤษสำหรับงานศิลปกรรมพื้นถิ่น วิชาการศึกษาเฉพาะบุคคล และวิชาเอกเลือกเป็นชุดวิชา ตัวอย่างเช่น วิชาแอนิเมชั่น วิชาออกแบบคราฟท์กับชุมชนเป็นต้น 3) กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. เพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะการออกแบบ ดนตรี นาฏศิลป์และศิลปวัฒนธรรมตามบริบททางสังคมมุ่งสู่การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ทางหลักสูตรจึงได้จัดประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนเรื่องการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาที่ไม่จำเพาะในชั้นเรียน และปรับวิธีการเขียนให้สอดรับการสถานการณ์ปัจจุบันหลังสถานการณ์โรคโควิด 19 ระบาด โดยการเรียนการสอนแบบออนไลน์หรือใช้สื่อโชเชียลมีเดีย ที่สำคัญการเรียนการสอนปฏิบัติในสถานที่จริง การมุ่งเน้นให้นักศึกษาสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้สิ่งใหม่ สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นจึงได้มุ่งเน้นวิชาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้นักศึกษาเกิดการค้นคว้าซึ่งมีอาจารย์ค่อยกำกับดูแลในเรื่องจริยธรรมทางวิชาการ หรือการวางกรอบแนวคิดที่ไม่ผิดจรรยาบรรณทางวิชาชีพ (คัดลอกงาน) เป็นต้น โดยปีการศึกษา 2565 ได้ปรับปรุงหลักสูตรที่เพิ่มชุดวิชาใหม่ ได้แก่ ชุดวิชาดิจิทัลอาร์ต ศิลปะการถ่ายภาพ ชุดวิชาบูรณาการ เช่น ดิจิทัลเอเจนซี่ ภาษีอากรต่องานศิลปกรรมพื้นถิ่นเป็นต้น ซึ่งชุดวิชาดังกล่าวทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทักษะและความเคลื่อนไหวด้านสังคม
  2. จากวางแผนและกำหนดการจัดโครงการฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นจึงได้ดำเนินกระบวนการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา จึงได้จัดโครงการตามเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 4 กลุ่ม เป็นบูรณาการภายใต้โครงการในแต่ละด้านดังนี้
    1. การพัฒนาด้านทักษะและการเรียนและนวัตกรรม

      อาจารย์ประจำหลักสูตรได้จัดกิจกรรมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักศึกษาในการเข้าสู่การทำงานซึ่งมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน เป็นกิจกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ผสมผสานด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ในช่วงหลังสถานการณ์โรคโควิท 19 แพร่ระบาด สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้นำปัญหาและแนวทางแก้ไขให้กับนักศึกษา ซึ่งจัดโครงการเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่นักศึกษา คือ โครงการแสดงนิทรรศการศิลปกรรมพื้นถิ่น ครั้ง 1 ศูนย์การค้ายูดีทาวน์ โดยนักศึกษาได้มีพัฒนาการและสร้างสรรค์ผลงานซึ่งมีอาจารย์ที่ปรึกษาควบคุม ดังนั้นการแสดงผลงานนักศึกษามีความสำคัญยิ่งในปัจจุบันที่ได้ทักษะประสบการณ์ด้านงานสร้างสรรค์กับนวัตกรรมความเหมาะสมกับสังคมปัจจุบันและอนาคต โดยมี อาจารย์ณัฐวัชร เดชมาลา เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ สำหรับการพัฒนาการแบบบูรณาการสาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นซึ่งเป็นโครงการร่วมกับหน่วยงานราชการระดับจังหวัด สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้มีส่วนรวมกิจกรรมโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานีทำหลักสูตรวิชาชีพ หลักสูตรดังกล่าวเปิดสอนระดับมัธยมปลายปีการศึกษา 2565  โดยสาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้จัดนักศึกษาเป็นวิทยากรเน้นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และปี4 ซึ่งอาจารย์เป็นผู้กำกับดูแล กิจกรรมดังกล่าวเป็นการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาที่ได้ประสบการณ์ในวิชาชีพความเป็นผู้นำซึ่งเป็นประโยชน์กับนักศึกษาที่จะนำความรู้ไปเมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตร

    2. การพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี

      ในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปกรรมพื้นถิ่นได้ตระหนักถึงการพัฒนาด้านสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยีให้กับนักศึกษาซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในปัจจุบัน  สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้กำกับอาจารย์ผู้สอนรายวิชาต่างๆ ของหลักสูตรเพิ่มเติมความรู้ด้านเทคโนโลยีสื่อสารสนเทศและหลักสูตรได้จัดวิชาเอกเป็นวิชาด้านคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ นิเทศศิลป์ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้สามารถสร้างนวัตกรรมได้ซึ่งมีความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในปัจจุบันอันเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ

      ดังนั้น สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้จัดกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ชีวิตและการทำงานด้วยเทคโนโลยีสำหรับการสื่อสารสารสนเทศ ตลอดจนการเพิ่มพูนทักษะด้านเทคโนโลยี
      อย่างเหมาะสมกับการพัฒนาทักษะวิชาชีพที่มีความแตกต่างและหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยให้นักศึกษาเลือกวิชาออกแบบคอมพิวเตอร์หรือวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ ประธานหลักสูตรมอบหมายให้ อาจารย์วราวุฒิ ทิวะสิงห์ เป็นผู้รับผิดชอบด้านการออกแบบผลิตสื่อต่างๆ โดยให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยีแอพพลิเคชั้นโทรศัพท์มือถือ แทบเล็ดในการออกแบบสร้างเป็นงานโฆษณาเชิงพาณิชศิลป์ ทั้งนี้กระบวนพัฒนาการเรียนรู้ทักษะด้านสารสนเทศ เทคโนโลยีนักศึกษาสามารถนำไปใช้กับวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ในรอบปีการศึกษา 2565 สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้ให้นักศึกษาออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ  2 แห่ง คือ พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี และบริษัทพีควัน การ์เมนท์ จังหัวดอุดรธานี สถานที่ดังกล่าวอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้พิจารณาแล้วว่าเป็นสถานที่ที่นักศึกษาสามารถได้ประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองด้านการออกแบบนิเทศศิลป์และสื่อประชาสัมพันธ์ ซึ่งนักศึกษามีความรู้ทักษะในรายวิชาของหลักสูตรมาก่อนเป็นพื้นฐานนำไปใช้กับวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพและประสบการณ์ดังกล่าวนำไปพัฒนาตนเมื่อจบหลักสูตร

    3. การพัฒนาทักษะชีวิตและวิชาชีพ

      ด้วยโครงสร้างหลักสูตรศิลปกรรมพื้นถิ่นมีวัตถุระสงค์มุ่งเน้นการเรียนการสอนด้านทักษะวิชาชีพ  นอกจากนั้นยังเสริมสร้างทักษะชีวิตที่แทรกในรายวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตรโดยเน้นย้ำอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาอธิบายทักษะชีวิตให้นักศึกษาได้เรียนรู้ประสบการณ์การพัฒนาตนเองและการเข้าสังคมในการรับรู้สังคมที่มีความแตกต่างและหลากหลาย คือ 1) การปรับตัวเข้ากับสังคม 2) ปฏิสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรมทางเชื้อชาติ 3) ความรับผิดชอบตนเอง ด้านผู้นำและความรับผิดชอบต่อสังคม

      สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นจึงตระหนักถึงการพัฒนาทักษะชีวิตและวิชาชีพของนักศึกษาโดยได้จัดให้มีกิจกรรมเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ประธานหลักสูตรได้มอบหมายอาจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ อัครวัฒนากุล จัดโครงการอบรมศิลปะนิพนธ์นักศึกษาชั้นปี 4 ปีการศึกษา 2565 เป็นกิจกรรมของสาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นด้วยจุดประสงค์ให้นักศึกษาเตรียมความพร้อมการทำผลงานศิลปนิพนธ์ทั้งด้านงานสร้างสรรค์และการเขียนเอกสารงานวิจัยเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและความสามัคคีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประกอบกับคำแนะนำอาจารย์ที่ปรึกษา ผลสัมฤทธิ์ นักศึกษาแสดงผลงานศิลปนิพนธ์สำเร็จตามเวลาที่กำหนด

      นอกจากนั้นนักศึกษาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้น อาทิ วันเฉลิมพระชนม์พรรษารัชกาลที่ 10 และสถาปนามหาวิทยาลัย สำหรับการมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาอาชีพอย่ายั่งยืน โดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นที่ปรึกษาโครงการ คือ เยาชนจิตอาสา อาจารย์วราวุฒิ ทิวะสิงห์ได้นำนักศึกษาที่เรียนวิชาถ่ายภาพเข้าร่วมโครงการดังกล่าว

    4. สรุปผลการดำเนินโครงการและประเมินผลโครงการ

      เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ/กิจกรรมในการพัฒนานักศึกษาที่จัดขึ้นแล้ว อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกับนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้ทำการสรุปผลการดำเนินโครงการและประเมินผลโครงการพร้อมทั้งระบุประโยชน์ที่ได้รับปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการหลักสูตรและผู้บังคับบัญชาในระดับสูงขึ้นเพื่อเป็นแนวทางพัฒนาโครงการของหลักสูตรในครั้งต่อไป

    5. วิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางปรับปรุงเพื่อพัฒนา

      หลักสูตรได้นำสรุปผลการดำเนินงานและการประเมินผลโครงการมาทำการทบทวนวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันและหาแนวทางปรับปรุงเพื่อพัฒนาโครงการที่สามารถพัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้พร้อมก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างเหมาะสม โดยสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันซึ่งเป็นการดำเนินงานบริหารหลักสูตรในด้านศักยภาพในปี 2565 และปีถัดไป

 

จุดเด่น และโอกาสในการพัฒนา

  1. จุดเด่น 

    หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่น เน้นการศึกษาเฉพาะที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์และความหลากหลายของวิชาที่นักศึกษาสามารถเลือกเรียนตามความสนใจ   แต่ด้วยสาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นเป็นหลักสูตรใหม่จึงมีนักศึกษาสมัครและรายงานตัวเข้าเรียนน้อยกว่าเป้าหมาย จึงสามารถดูแลและให้คำปรึกษานักศึกษาได้อย่างทั่วถึง และมีโอกาสในการไปประชาสัมพันธ์หลักสูตรอย่างสม่ำเสมอทั้งในสถาบันการศึกษาและสาธาณชนกิจกรรมทางสังคมในโอกาสต่างๆ  อาจทำให้นักศึกษาเพิ่มมากขึ้นในปีการศึกษาต่อไป

  2. โอกาสในการพัฒนา

    หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นมีแนวทางประชาสัมพันธ์หลักสูตรด้วยสื่อทุกช่องทางและการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์หลักสูตรที่ผลิตผลงานสร้างสรรค์และงานวิจัยเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นของผู้เรียน

 

ข้อมูลรายวิชา

ลำดับ

รหัสรายวิชา

ชื่อรายวิชา

สถานะรายวิชา

เปิดสอน

เนื้อหาครบ

1

AL50103

วาดเส้น 1

2

AL50101

การออกแบบ 1

3

AL40122

ประติมากรรม 1

4

AL41101

ศิลปะไทย 1

5

AL05502

เทคนิคประติมากรรม 

6

GE33001

วิทยาศาสตร์และประเด็นร่วมสมัย

7

AL20110

รูปแบบและการวิเคราะห์ 2

8

AL59102

ภาพถ่ายดิจิตอล 1

9

AL04402

เพลาะ สลัก แกะ กลึง พุทธศิลป์

10

AL35105

การเขียนบทสำหรับสื่อ

11

AL37109

การเล่าเรื่องและการออกแบบเพื่อการแสดง

12

AL40104

องค์ประกอบศิลป์

13

AL09901

ตุ้มโฮม แนวคิด

14

AL40110

การออกแบบสร้างสรรค์เศษวัสดุ

15

AL30104

ศิลปะการแสดง

16

AL01105

วัสดุเชิงช่างอีสาน

17

GE44002

ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันและการทำงาน

18

AL23106

ประวัติศาสตร์และวรรรณกรรมดนตรีหมอลํา 1

19

AL39111

การออกแบบองค์ประกอบการแสดง

20

AL59101

คอมพิวเตอร์กราฟิก

21

AL03303

ออกแบบพุทธสถาปัตย์

22

AL33101

ดนตรีพื้นบ้านประกอบการแสดง

23

AL20111

การสอดประสานเสียง

24

GE44001

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

25

AL50111

การออกแบบนิเทศศิลป์ 4

26

AL08803

คอมพิวเตอร์ เพื่อการนำเสนอ

27

GE11001

ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

28

AL10102

การศึกษาเฉพาะบุคคล

29

AL22102

ทฤษฎีดนตรีสมัยนิยม 2

30

AL30107

นาฏศิลป์ปริทรรศน์

31

AL11101

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพงานช่างและการออกแบบศิลปกรรม

32

AL50113

โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานในงานออกแบบ

33

GE44003

ภาษาอังกฤษเพื่อการนำไปใช้

34

AL33108

กลองยาวอีสาน การสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นบ้าน

35

AL90101

ประวัติศาสตร์ศิลปะพื้นถิ่น

36

AL20103

สุนทรียศาสตร์ดนตรี

37

AL38108

การประพันธ์และการขับร้องกาพย์เซิ้งอีสาน

38

AL05503

การสร้างสรรค์ประติมากรรม

39

AL06603

ออกแบบ และสร้างสรรค์ ร้อย ปัก ถัก ทอ

40

AL40103

สุนทรียศาสตร์

41

AL20109

รูปแบบและการวิเคราะห์ 1

42

AL09902

ตุ้มโฮม ทักษะ

43

AL30113

ศิลปะและวัฒนธรรม

44

AL30103

การวิเคราะห์และวิจารณ์ศิลปะการแสดง

45

AL50204

วาดเส้น 2

46

AL81106

การศึกษาเฉพาะบุคคลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะ

47

AL30118

เทคโนโลยีเพื่อการแสดง

48

AL50110

การออกแบบนิเทศศิลป์ 3

49

GE33002

รู้ทันโลกดิจิทัล

50

AL30105

หลักการจัดการแสดง

51

GE22001

ความดีงามแห่งชีวิต

52

AL50107

การเขียนแบบเบื้องต้น

53

AL07703

เครื่องเงินเครื่องทอง

54

AL23111

การขับร้องหมอลำ 1

55

AL50102

การออกแบบ 2

56

AL90203

ภาษาอังกฤษสำหรับงานศิลปกรรมพื้นถิ่น

57

AL58101

ศิลปะภาพถ่าย

58

AL90102

การคิดการออกแบบ

59

AL50108

การออกแบบนิเทศศิลป์ 1

60

AL02203

ฮูบแต้ม สร้างสรรค์

61

AL04403

ออกแบบเพลาะ สลัก แกะ กลึง

62

AL30101

ประวัติศิลปะการแสดงตะวันตกและตะวันออก

63

AL20108

การเรียบเรียงสําหรับวงออร์เคสตรา 2