หลักสูตรศิลปบัณฑิต

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ ระดับปริญญาตรี

รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัส 1021
รหัสหลักสูตร 25481691101384
ภาษาไทย ศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
ภาษาอังกฤษ Bachelor  of  Fine Arts Program in Product

 

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม (ไทย) ศิลปบัณฑิต (ออกแบบผลิตภัณฑ์)
ชื่อย่อ  (ไทย) ศล.บ. (ออกแบบผลิตภัณฑ์)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) Bachelor of Fine Arts (Product Design)
ชื่อย่อ  (อังกฤษ) B.F.A. (Product Design)

 

ปรัชญา

มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีคุณธรรม จริยธรรม บูรณาการศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างสรรค์งานออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ

 

วัตถุประสงค์

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังนี้

  1. มีความรอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรมและการออกแบบและความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ตลอดจนมีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ สามารถค้นคว้า แก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้อย่างเป็นระบบ
  2. มีความสามารถในการศึกษาค้นคว้า การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ ประเมินผลและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน สามารถบูรณาการความรู้ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับศาสตร์สากลเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้
  3. มีภาวะความเป็นผู้นำ เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง มีความรับผิดชอบต่องานของตนเองและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. มีความสามารถในการสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียน ตลอดจนมีสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลขเทคโนโลยีที่เหมาะสมสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการออกแบบสร้างสรรค์และการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีทัศนคติที่เปิดกว้างและยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น มีจิตอาสาและจิตสำนึกสาธารณะ
  6. มีความสามารถใช้ทักษะปฏิบัติทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างเหมาะสม

 

ระบบการศึกษา

 การจัดการศึกษาเป็นระบบทวิภาค โดยหนึ่งปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษามีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ต่อหนึ่งภาคการศึกษา และอาจจัดให้มีภาคฤดูร้อน โดยกำหนดระยะเวลา ไม่น้อยกว่า 8  สัปดาห์

 

รูปแบบ

  1. ระบบ การจัดการศึกษาเป็นระบบทวิภาค โดยหนึ่งปีการศึกษา แบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจจัดให้มีภาคฤดูร้อน โดยกำหนดระยะเวลา ไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์
  2. การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน การจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร โดยกำหนดระยะเวลา ไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์

 

อาจารย์ประจำหลักสูตร

 

โครงสร้างหลักสูตร

  1. จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 134  หน่วยกิต
  2. โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็น 3 หมวดวิชาซึ่งสอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558 ดังนี้
    1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30  หน่วยกิต
      1) ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 6 หน่วยกิต
      2) ความดีงามแห่งชีวิต 6 หน่วยกิต
      3) วิทยาศาสตร์และประเด็นร่วมสมัย 6 หน่วยกิต
      4) รู้ทันโลกดิจิทัล 3 หน่วยกิต
      5) ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 3 หน่วยกิต
      6) ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันและการทำงาน 3 หน่วยกิต
      7) ภาษาอังกฤษเพื่อการนำไปใช้ 3 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาเฉพาะ 88  หน่วยกิต
      1) วิชาแกน 5 หน่วยกิต
      2) วิชาเฉพาะด้าน 12 หน่วยกิต
      3) วิชาเอก 81 หน่วยกิต
      • กลุ่มวิชาเอกบังคับ 54 หน่วยกิต
      • กลุ่มวิชาเอกเลือก 27 หน่วยกิต
    3. หมวดวิชาเลือกเสรี   ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
  3. รายวิชา หลักเกณฑ์การใช้รหัสวิชาในหลักสูตร ให้มีรหัสจำนวน 7 ตำแหน่ง ประกอบด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวใหญ่ 2 ตำแหน่ง และตัวเลข 5 ตำแหน่ง โดยมีความหมายดังนี้

ตัวอักษร PD เป็นหลักสูตร หรือ สาขาวิชา
เลขตัวที่ 3-4 เป็นหมวดวิชา หรือ กลุ่มวิชา
01 วิชาแกน
02 วิชาเฉพาะด้าน
03 วิชาเอกออกแบบผลิตภัณฑ์
04 วิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพและการสัมมนา
05 วิชาวิจัยและศิลปะนิพนธ์
06 กลุ่มวิชาเลือกออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรม
07 กลุ่มวิชาเลือกคอมพิวเตอร์กราฟิก
08 กลุ่มวิชาเลือกออกแบบแฟชั่น
เลขตัวที่ 5  เป็นชั้นปี หรือ ความยากง่าย
เลขตัวที่ 6-7  เป็นลำดับก่อน-หลัง ของวิชา

 

1)  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30  หน่วยกิต 

GE11001

ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น  

King’s Philosophy for Local Development

6(3-6-9)

GE22001

ความดีงามแห่งชีวิต Virtue of Life

6(3-6-9)

GE33001

วิทยาศาสตร์และประเด็นร่วมสมัย

Science and Contemporary Issues

6(3-6-9)

GE33002

รู้ทันโลกดิจิทัล

Digital literacy

3(2-2-5)

GE44001

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 

Thai for Communication

3(2-2-5)

GE44002

ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันและการทำงาน 

English for Life and Work

3(2-2-5)

GE44003

ภาษาอังกฤษเพื่อการนำไปใช้ 

English in Use

3(2-2-5)

2)  หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 98 หน่วยกิต

     2.1) วิชาแกน 5 หน่วยกิต

PD01101

ประวัติศาสตร์ศิลปะและวิวัฒนาการออกแบบ

History of Arts and Evolution of Design

3(3-0-6)

PD01202

ภาษาอังกฤษในงานศิลปะและการออกแบบ

English for Arts and Design

2(2-0-4)

     2.2) วิชาเฉพาะด้าน 12 หน่วยกิต

PD02101

พื้นฐานการออกแบบ

Fundamentals of Design

3(2-2-5)

PD02102

การวาดเส้นพื้นฐาน

Basic Drawing

3(1-3-5)

PD02203

คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการออกแบบงาน 2 มิติ

Computer-aided in 2 Dimensions Design

2(1-3-3)

PD02204

คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการเขียนแบบ

Computer-aided in Working Drawing

2(1-3-3)

PD02205

คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการออกแบบงาน 3 มิติ

Computer-aided in 3 Dimensions Design

2(1-3-3)

     2.3) วิชาเอก 81 หน่วยกิต

             2.3.1) กลุ่มวิชาเอกบังคับ 54 หน่วยกิต

PD03101

การเขียนแบบในงานออกแบบผลิตภัณฑ์

Drawing in Product Design

3(1-3-5)

PD03102

เทคนิคการนำเสนอผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์

Presentation Techniques in Product Design

3(1-3-5)

PD03103

ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ

Creative Thinking for Design

3(2-2-5)

PD03104

หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์

Principles of Product Design

3(2-2-5)

PD03205

กายศาสตร์เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์

Ergonomics for Product Design

3(2-2-5)

PD03206

การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก

Souvenir and Gift Design

3(2-2-5)

PD03207

หลักการถ่ายภาพสำหรับงานออกแบบ

Principles of Photography for Design

3(2-2-5)

PD03208

การออกแบบผลิตภัณฑ์ของใช้และของตกแต่ง

Decoration Product Design

3(2-2-5)

PD03209

ธุรกิจงานออกแบบผลิตภัณฑ์

Business Product Design

3(2-2-5)

PD03310

การออกแบบผลิตภัณฑ์ของเล่น

Toys Design

3(2-2-5)

PD03311

การออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน

Community Product Design

3(2-2-5)

PD03412

การออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับมวลชน

Universal Product Design

3(2-2-5)

PD03413

การออกแบบผลิตภัณฑ์นวัตกรรม

Innovative Product Design

3(2-2-5)

PD04301

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพงานออกแบบผลิตภัณฑ์

Practical Work in Product Design

3(350)

PD04402

สัมมนาการออกแบบผลิตภัณฑ์

Seminar on Product Design

2(1-2-3)

PD05301

หลักการวิจัยงานออกแบบผลิตภัณฑ์

Principles of Research for Product Design

3(2-2-5)

PD05402

การเตรียมศิลปนิพนธ์

Preparation for Art Thesis

1(0-2-1)

PD05403

ศิลปนิพนธ์

Art Thesis

6(0-12-6)

             2.3.2) กลุ่มวิชาเอกเลือก 27 หน่วยกิต

ให้เลือกเรียนรายวิชาในกลุ่มวิชาใดกลุ่มวิชาหนึ่งหรือหลายกลุ่มวิชารวมกันไม่น้อยกว่า 27 หน่วยกิต

  • กลุ่มวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรม

PD06101

การออกแบบผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่และหวาย

Bamboo and Rattan Product Design

3(2-2-5)

PD06202

การออกแบบผลิตภัณฑ์เอกลักษณ์ไทย

Product Design in Thai Identity

3(2-2-5)

PD06203

การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา

Pottery Design

3(2-2-5)

PD06304

การออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นถิ่น

Local Craft Product Design

3(2-2-5)

PD06305

ออกแบบผลิตภัณฑ์ไม้

Wood Product Design

3(2-2-5)

PD06306

ออกแบบผลิตภัณฑ์หนัง

Leather Product Design

3(2-2-5)

PD06407

ออกแบบเครื่องประดับ

Jewelry Design

3(2-2-5)

PD06408

ออกแบบผลิตภัณฑ์โลหะ

Metal Product Design

3(2-2-5)

PD06409

ออกแบบผลิตภัณฑ์แก้ว

Glass Product Design

3(2-2-5)

  • กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก

PD07101

หลักการออกแบบกราฟิก

Principles of Graphic Design

3(2-2-5)

PD07202

วัสดุและกระบวนการผลิตในงานออกแบบกราฟิก

Materials and Processes in Graphic Design

3(2-2-5)

PD07203

การออกแบบสิ่งพิมพ์

Printing Design

3(2-2-5)

PD07304

การออกแบบบรรจุภัณฑ์

Packaging Design

3(2-2-5)

PD07305

การออกแบบเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น

Website and Application Design

3(2-2-5)

PD07306

การออกแบบวิดิทัศน์ดิจิทัล

Digital Video Design

3(2-2-5)

PD07407

การออกแบบแอนิเมชั่นและภาพเคลื่อนไหว

Animation and Motion Graphic Design

3(2-2-5)

PD07408

คอมพิวเตอร์สามมิติขั้นสูงสำหรับงานกราฟิก

Advanced Computer 3D for Graphic Design

3(2-2-5)

PD07409

การออกแบบกราฟิกอัตลักษณ์สินค้า

Brand Identity Graphic Design

3(2-2-5)

  • กลุ่มวิชาออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ

PD08101

หลักการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ

Principles of Fashion and Textile Design

3(2-2-5)

PD08202

วัสดุในออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ

Materials for Fabric and Fashion Design

3(2-2-5)

PD08203

คอมพิวเตอร์ในงานออกแบบแฟชั่น

Computer-aided in Fashion Design

3(2-2-5)

PD08304

การออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นฐาน

Basic Dressmaking

3(2-2-5)

PD08305

การออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ

Textile Product Design

3(2-2-5)

PD08306

เทคนิคการสร้างสรรค์เสื้อผ้าชั้นสูง

Advanced Dressmaking

3(2-2-5)

PD08407

ออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องตกแต่งในงานแฟชั่น

Decorations Design in Fashion Design

3(2-2-5)

PD08408

การออกแบบแฟชั่นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

Fashion Design from Local Wisdom

3(2-2-5)

PD08409

การออกแบบแฟชั่นเชิงพาณิชย์

Commercial in Fashion Design

3(2-2-5)

3)  หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

     ให้เลือกเรียนรายวิชาที่เปิดสอน ในหลักสูตรระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีโดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต

 

แผนการศึกษา

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

จำนวนหน่วยกิต

ศึกษาทั่วไป

GEXXXXX

เลือกเรียนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

6

เฉพาะด้าน

วิชาเอกบังคับ

PD01101

ประวัติศาสตร์ศิลปะและวิวัฒนาการออกแบบ

3(3-0-6)

PD02101

พื้นฐานการออกแบบ

3(2-2-5)

PD02102

การวาดเส้นพื้นฐาน

3(1-3-5)

PD03101

การเขียนแบบในงานออกแบบผลิตภัณฑ์

3(1-3-5)

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

จำนวนหน่วยกิต

ศึกษาทั่วไป

GEXXXXX

เลือกเรียนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

6

เฉพาะด้าน

วิชาเอกบังคับ

PD03102

เทคนิคการนำเสนอผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์

3(2-2-5)

PD03103

ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ

3(1-3-5)

PD03104

หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์

3(2-2-5)

วิชาเอกเลือก

PDxxxxx

เลือกเรียนในหมวดวิชาเฉพาะด้าน (วิชาเอกเลือก)

3

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

จำนวนหน่วยกิต

ศึกษาทั่วไป

GEXXXXX

เลือกเรียนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

6

เฉพาะด้าน

วิชาเอกบังคับ

PD02203

คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการออกแบบงาน 2 มิติ

2(1-3-3)

PD02204

คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการเขียนแบบ

2(1-3-3)

PD03205

กายศาสตร์เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์

3(2-2-5)

PD03206

การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก

3(2-2-5)

วิชาเอกเลือก

PDxxxxx

เลือกเรียนในหมวดวิชาเฉพาะด้าน (วิชาเอกเลือก)

3

รวม

19

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

จำนวนหน่วยกิต

ศึกษาทั่วไป

GEXXXXX

เลือกเรียนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

6

เฉพาะด้าน

วิชาเอกบังคับ

PD01202

ภาษาอังกฤษในงานศิลปะและการออกแบบ

2(2-0-4)

PD02205

คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการออกแบบงาน 3 มิติ

2(1-3-3)

PD03207

หลักการถ่ายภาพสำหรับงานออกแบบ

3(2-2-5)

PD03208

การออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่ง

3(2-2-5)

วิชาเอกเลือก

PDxxxxx

เลือกเรียนในหมวดวิชาเฉพาะด้าน (วิชาเอกเลือก)

3

รวม

19

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

จำนวนหน่วยกิต

ศึกษาทั่วไป

GEXXXXX

เลือกเรียนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

6

เฉพาะด้าน

วิชาเอกบังคับ

PD03311

การออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน

3(2-2-5)

PD03310

การออกแบบผลิตภัณฑ์ของเล่น

3(2-2-5)

วิชาเอกเลือก

PDxxxxx

เลือกเรียนในหมวดวิชาเฉพาะด้าน (วิชาเอกเลือก)

3

เลือกเสรี

xxxxxxx

เลือกเรียนในหมวดวิชาเลือกเส

3

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

จำนวนหน่วยกิต

เฉพาะด้าน

วิชาเอกบังคับ

PD03309

ธุรกิจงานออกแบบผลิตภัณฑ์

3(2-2-5)

PD03312

การออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับมวลชน

3(2-2-5)

PD05301

หลักการวิจัยงานออกแบบผลิตภัณฑ์

3(2-2-5)

วิชาเอกเลือก

PDxxxxx

เลือกเรียนในหมวดวิชาเฉพาะด้าน (วิชาเอกเลือก)

6

เลือกเสรี

xxxxxxx

เลือกเรียนในหมวดวิชาเลือกเสรี

3

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

จำนวนหน่วยกิต

เฉพาะด้าน

วิชาเอกบังคับ

PD03413

การออกแบบผลิตภัณฑ์นวัตกรรม

3(2-2-5)

PD04402

สัมมนาการออกแบบผลิตภัณฑ์

2(1-2-3)

PD05402

การเตรียมศิลปนิพนธ์

1(0-2-1)

PD04301

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพงานออกแบบผลิตภัณฑ์

3(450)

วิชาเอกเลือก

PDxxxxx

เลือกเรียนในหมวดวิชาเฉพาะด้าน (วิชาเอกเลือก)

6

เลือกเสรี

xxxxxxx

เลือกเรียนในหมวดวิชาเลือกเสรี

 

รวม

15

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

จำนวนหน่วยกิต

เฉพาะด้าน

วิชาเอกบังคับ

PD05403

ศิลปนิพนธ์

6(0-12-6)

วิชาเอกเลือก

PDxxxxx

เลือกเรียนในหมวดวิชาเฉพาะด้าน (วิชาเอกเลือก)

3

รวม

19

 

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561 หมวด 9 และหมวด 10 (ภาคผนวก ค)
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 134 หน่วยกิต

 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
  2. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561 หมวด 5 (ภาคผนวก ค)

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. นักออกแบบผลิตภัณฑ์ นักออกแบบกราฟิก นักออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ
  2. นักออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชน (Young Startup-OTOP Designer)
  3. ครู นักวิชาการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของหน่วยงานภาครัฐ
  4. นักออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในองค์กรเอกชน
  5. นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของหน่วยงานในสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน
  6. เป็นผู้ประกอบการธุรกิจ เจ้าของกิจการเกี่ยวกับออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์

 

อาจารย์ผู้สอน