ประวัติความเป็นมา

               คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้เปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการศึกษาเป็นครั้งแรก ในปี พ ศ. ๒๕๑๗ และได้จัดตั้ง “คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” โดยได้เปลี่ยนหมวดวิชาต่าง ๆ เป็นภาควิชาประกอบด้วย ๑๐ ภาควิชา คือ นาฏศิลป์และดนตรี บรรณารักษศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญาและศาสนา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภูมิศาสตร์ รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ศิลปศึกษา และสังคมวิทยา

               พ.ศ. ๒๕๓๘ มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏเปลี่ยนชื่อเป็น “คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” เปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขาศิลปศาสตร์ แบ่งการบริหารออกเป็น ๑๐ ภาควิชา ได้แก่ นาฎศิลป์และดนตรี บรรณารักษศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญาและศาสนา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภูมิศาสตร์ รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ศิลปศึกษา และสังคมวิทยา และแบ่งออก ๑ โปรแกรมวิซา คือ สังคมศึกษา

               พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้จัดการบริหารการเรียนการสอนแบบโปรแกรมวิชา ประกอบด้วย ๘ โปรแกรมวิชา ได้แก่ พัฒนาชุมชน ดนตรี นาฎศิลป์ บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ รัฐประศาสนศาสตร์ และศิลปะ นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมบริหารโปรแกรมวิชาในสาขาการศึกษากับคณะครุศาสตร์ ๗ โปรแกรมวิชา คือ ศิลปกรรม (ดนตรี) ศิลปกรรม (นาฎศิลปีและการแสดง) ศิลปกรรม (ทัศนศิลป์) บรรณารักษศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา

               พ.ศ.๒๕๔๗ ประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏอุดรธานี พ.ศ. ๒๕๓๘ บัญญัติให้สถาบันราชภัฏเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๙) และมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ

               พ.ศ. ๒๕๔๗ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไห้จัดการบริหารการเรียนการสอนแบบโปรแกรมวิชาประกอบด้วย ๘ โปรแกรมวิชา คือ พัฒนาชุมชน วิชาดนตรี นาฏศิลป์ บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ รัฐประศาสนศาสตร์ และศิลปกรรม

               พศ.๒๕๔๘ – พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะมนุษยศาสตและสังคมคาสตร์ ได้จัดการบริหารการเรียนการสอนแบบสาขาวิชา มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร ระดับปริญญาตรี จำนวน ๑๐ หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต มีสาขาวิขา คือ ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษธุรกิจ การพัฒนาสังคม หลักสูตรศิลปบัณฑิต มีสาขาวิชา คือ ศิลปะการแสดง เทคโนโลยีดนตรี ศิลปกรรม หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มีสาขาวิชา คือ นิติศาสตร์ และหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิด มีสาขาวิชา คือ รัฐประศาสนศาสตร์

               นอกจากนี้ ยังมีส่วนร่วมในการบริหารหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ร่วมกับคณะครุศาสตร์ มีสาขาวิชา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคมศึกษา ดนตรีศึกษา นาฏศิลป์ และทัศนศิลป์

               พ.ศ. ๒๕๕๕ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้จัดการบริหารการเรียนการสอนแบบสาขาวิชามีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรีตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุคมศึกษาแห่งชาล (TOF) จำนวน ๑๔ หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต มีสาขาวิชา คือ การพัฒนาสังคม ภาษาจีน ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร สารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษธุรกิจ และภูมิสารสนทศเพื่อการพัฒนา หลักสูตรศิลปบัณฑิต มีสาขาวิชา คือ ดนตรี ทัศนศิลป์และการออกแบบ ศิลปะการแสดง และออกแบบผลิตภัณฑ์ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มีสาขาวิชา คือ นิติศาสตร์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต มีสาขาวิชา คือ รัฐประศาสนศาสตร์ และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ)

               นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในการบริหารหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตร่วมกับคณะครุศาสตร์ มีสาขาวิชา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคมศึกษา คนตรีศึกษา และทัศนศิลป์

               พ ศ. ๒๕๖๒ คณะมนุษยศสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานคณะ และสาชาวิชาต่าง ๆ มาทำการเรียนการสอน ณ ศูนย์การศึกษาสามพร้าว (ยกเว้นสาขาวิชาคนตรี สาขาวิซาศิลปะการแสดง สาขาวิชาทัศนศิลป์และสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์) เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

อัตลักษณ์

CLICKED

C  หมายถึง        Cross-Cultural  เข้าใจ/ยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม

L  หมายถึง        Local  ประยุกต์ใช้ความรู้กับท้องถิ่น

I  หมายถึง         International  พัฒนาสู่สากล

C  หมายถึง        Creative  มีความคิดสร้างสรรค์

K  หมายถึง        Knowledgeable  มีความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่ศึกษา

E  หมายถึง        Empathize  เข้าอกเข้าใจผู้อื่น

D  หมายถึง        Discipline  มีระเบียบวินัย

ปรัชญา

ผู้นำแห่งปัญญา สร้างคุณค่า สู่สังคม

วิสัยทัศน์

คณะที่เป็นสิศด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

พันธกิจ

  1. จัดการศึกษาที่ตอบสนองต่อคนทุกกลุ่มวัย
  2. งานวิจัยและงานสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรมการพัฒนาท้องถิ่นสู่สากล
  3. บริการวิซาการที่สอดคล้องต่อความต้องการท้องถิ่นเพื่อยกระตับคุณภาพชีวิตของประชาชน
  4. อนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสาน และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สากล

สีประจำคณะ

สีแสด

หลักสูตรการเรียนการสอน

ระดับปริญญาตรี

  1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต จำนวน ๘ สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม สาขาวิชาภาษาจีน  สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์  สาขาวิชาภาษาอังกฤษ  สาซาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ  สาขาวิชาภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนา  สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ(หลักสูตรนานาชาติ)
  2. หลักสูตรศิลปบัณฑิต จำนวน ๔ สาขาวิชา คือ  สาขาวิชาดนตรี  สาขาวิชาศิลปะการแสดง สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์  สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
  3. หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
  4. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  5. หลักสูตรศิลปกรรมบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรมพื้นถิ่น