หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรมพื้นถิ่น ระดับปริญญาตรี
รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัส | 1273 |
รหัสหลักสูตร | 25621691100074 |
ภาษาไทย | หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรมพื้นถิ่น |
ภาษาอังกฤษ | Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Local Arts |
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ไทย) | ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศิลปกรรมพื้นถิ่น) |
ชื่อย่อ (ไทย) | Bachelor of Fine and Applied Arts (Local Arts) |
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) | ศป.บ. (ศิลปกรรมพื้นถิ่น) |
ชื่อย่อ (อังกฤษ) | B.F.A (Local Arts) |
การพัฒนา ปรับปรุงกระบวนการ การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษา
ในปีการศึกษา 2565 หลักสูตรศิลปกรรมพื้นถิ่นได้พัฒนา ปรับปรุงกระบวนการควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาตามผลการดำเนินงานดังนี้
- กิจกรรมนักศึกษาให้เป็นไปแนวทางเดียวกันเพื่อให้นักศึกษาสามารถรับรู้ข่าวสารการแนะแนวแก่นักศึกษาโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบ ระยะเวลาในการยื่นเรื่องเพื่อดำเนินการต่าง ๆ เช่น การขอทุนกู้ยืม การขอเพิ่มรายวิชา การถอนรายวิชาและการเข้าร่วมกิจกรรมของทางมหาวิทยาลัยตามคำประกาศ
- พัฒนาช่องทางการให้คำปรึกษาและการแนะแนวแก่นักศึกษาโดยการตั้งกลุ่ม เฟสบุ๊ค กลุ่มไลน์ และช่องทางอื่นในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้เป็นแหล่งประชาสัมพันธ์ติดต่อในการเรียนการสอน และให้นักศึกษาที่มีปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือในการแนะนำเพื่อช่วยชี้แนะในการแก้ปัญหาได้ทันท่วงที ที่สำคัญสาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้จัดพื้นที่ทำกิจกรรมให้กับนักศึกษาช่วงนอกเหนือจากชั่วโมงเรียน เช่น เล่นดนตรี สนทนากับอาจารย์และเพื่อนพี่นักศึกษาเป็นต้น ในชั่วโมงฮูมรูมหรือเวลาว่างนอกเหนือการเรียน
- พัฒนาปรับปรุง สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้มีการพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้เกิดความทันสมัยกับเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา จึงได้พัฒนา ปรับปรุงกระบวนการอันเกิดประโยชน์แก่นักศึกษามากที่สุด โดยพัฒนาเว็บไซต์ของสาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นให้มีการอัพเดตข่าวสารต่างๆ ให้เป็นปัจจุบันมากขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อและช่องทางในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารและช่องทางในการให้บริการข้อมูลในการศึกษาทั้งองค์ความรู้ศิลปกรรมพื้นถิ่นและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมของสังคมมุ่งเป้ากลุ่มเยาวชนเพื่อให้ได้ประโยชน์ เช่น การจัดหาแหล่งทุนงบประมาณสนับสนุนทั้งด้านกิจกรรมและสนับสนุการศึกษาซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อนักศึกษา มีคุณภาพชีวิตที่ดีช่วงระหว่างการศึกษา
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ทศวรรษที่ 21
สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้เล็งเห็นความสำคัญกับการศึกษาปัจจุบันที่เน้นเรื่องเทคโนโลยี นวัตกรรม ที่ทำให้นักศึกษามีประสบการณ์เมื่อจบหลักสูตรจักไปประกอบอาชีพได้ เป็นแผนยุทธศาสตร์การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 การบริหารอาจารย์ประจำหลักสูตรได้จัดทำแผนการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ให้สอดรับกับความต้องการของนักศึกษาปัจจุบัน โดยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี (Action plan) การศึกษา 2565 หลักสูตรกำหนดให้มีการดำเนินงานตามระบบ PDCA โดยมีการกำหนดแผนงาน/กำหนดเป้าหมาย/ผู้รับผิดชอบ/งบประมาณระยะเวลาดำเนินงาน/การสรุปผลการดำเนินงานและแนวทางการดำเนินงานสืบเนื่องจากปีการศึกษา 2564 สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้ปรับปรุงหลักสูตรก่อนโดยอาจารย์ประจำหลักสูตรได้จัดการเรียนการสอนตามอัธยาศัยและหลักสูตรระยะสั้น เพื่อให้นักศึกษาเลือกวิชาเรียนในรายวิชาเอกเลือกและวิชาเสรีตามที่ตนเองสนใจ ซึ่งหลักสูตรศิลปกรรมพื้นถิ่นได้เพิ่มรายวิชาและลดจำนวนหน่วยกิตตามกรอบมาตรฐานสกอ. โดยเป็นชุดรายวิชาด้านนาฏศิลป์ ดนตรี วัฒนธรรม ท่องเที่ยวและการจัดการเป็นต้น
ดังนั้นปีการศึกษา 2565 สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้จัดการเรียนการสอนที่นักศึกษาศึกษาตามอัธยาศัย หรือหลักสูตรระยะสั้นนักศึกษาสามารถจบภายใน 3 ปี นอกจากนั้นการพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถที่นำความรู้พัฒนาท้องถิ่น ซึ่งสอดรับกับรายวิชาเปิดใหม่ใช้กับนักศึกษารหัส 65 เช่น วิชาการคิดการออกแบบ วิชาภาษาอังกฤษสำหรับศิลปกรรมพื้นถิ่น วิชานี้เป็นวิชาเอกบังคับที่นักศึกษาทุกคนต้องเรียน ในคำอธิบายรายวิชาทั้ง 2 วิชา กล่าวถึง กระบวนการและขั้นตอนของการคิด การออกแบบวิธีการนำการคิดการออกแบบไปประยุกต์ใช้การทำงาน และการดำรงชีวิตประจำวัน จากคำอธิบายรายวิชาดังกล่าวจึงเป็นที่บูรณาการฐานสมรรถนะนำไปสู่กิจกรรมที่จัดขึ้นนอกเหนือจากการเรียนการสอนปกติเพื่อเสริมสร้างความเป็นช่างพื้นถิ่น นักออกแบบและผู้ประกอบการธุรกิจ มุ่งเน้นผลิตผลงานนวัตกรรม สิ่งที่เห็นชัดเจน คือ การออกแบบชุดเสื้อวัยรุ่นโดยใช้ผ้าท้องถิ่นสร้างแบรนด์สินค้าให้กับตนเอง และภาษาอังกฤษสำหรับศิลปกรรมพื้นถิ่นที่นักศึกษาจำเป็นต้องสื่อสารการใช้ศัพท์เฉพาะได้ก้าวทันโลกศตวรรษที่ 21 นอกจากนั้นยังมีวิชาที่นักศึกษาได้เลือกวิชาเอกตามความสนใจตนเอง เช่น วิชาออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา ชุดวิชาที่นักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้ที่มีรายวิชาดังนี้ วิชาการขึ้นรูปด้วยมือ วิชาเนื้อดิน วิชาเตาและการเผาเป็นต้น โดยอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้กำกับดูแลให้นักศึกษาได้เรียนรู้การผลิตเตาเผาดิน ขั้นตอนอุณหภูมิขณะเผาเครื่องปั้นดินเผาด้วยการปฏิบัติจริง และสามารถประยุกต์ใช้กับวิชาศิลปวัฒนธรรมในรายวิชาการจัดการของที่ระลึกท้องถิ่นหรือวิชาการจัดการตลาดดิจิทัลทางศิลปวัฒนธรรมและท่องเที่ยว ซึ่งหลักสูตรมุ่งเน้นการเรียนรู้นอกชั้นเรียนและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้เรียนสามารถออกแบบได้ด้วยตนเอง
ระบบกลไก ขั้นตอนการควบคุมดูแลฯ
สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นมีระบบกลไกและการควบคุมดูแลซึ่งมีเป้าหมายพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ให้สอดรับกับสถานะปัจจุบันและอนาคต โดยติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวด้านสังคม เศรษฐกิจ ศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งการศึกษาศตวรรษที่ 21 ที่มีผลกระทบกับนักศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อม อย่างไรก็ดีสาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้จัดทำแผนรองรับประเด็นสำคัญ คือ จัดแผนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับปัจจุบันและอนาคตโดยให้อาจารย์ประจำรายวิชาทำแผนการสอนรายวิชาที่รับผิดชอบดังนี้ 1) กลุ่มวิชาเฉพาะด้านวิชาเกี่ยวข้องกับศิลปะการออกแบบและวิชานาฏศิลป์ ดนตรี 2) กลุ่มวิชาเอกบังคับ วิชาการคิดการออกแบบ วิชาประวัติศาสตร์ศิลปะพื้นถิ่น วิชาภาษอังกฤษสำหรับงานศิลปกรรมพื้นถิ่น วิชาการศึกษาเฉพาะบุคคล และวิชาเอกเลือกเป็นชุดวิชา ตัวอย่างเช่น วิชาแอนิเมชั่น วิชาออกแบบคราฟท์กับชุมชนเป็นต้น 3) กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- เพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะการออกแบบ ดนตรี นาฏศิลป์และศิลปวัฒนธรรมตามบริบททางสังคมมุ่งสู่การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ทางหลักสูตรจึงได้จัดประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนเรื่องการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาที่ไม่จำเพาะในชั้นเรียน และปรับวิธีการเขียนให้สอดรับการสถานการณ์ปัจจุบันหลังสถานการณ์โรคโควิด 19 ระบาด โดยการเรียนการสอนแบบออนไลน์หรือใช้สื่อโชเชียลมีเดีย ที่สำคัญการเรียนการสอนปฏิบัติในสถานที่จริง การมุ่งเน้นให้นักศึกษาสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้สิ่งใหม่ สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นจึงได้มุ่งเน้นวิชาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้นักศึกษาเกิดการค้นคว้าซึ่งมีอาจารย์ค่อยกำกับดูแลในเรื่องจริยธรรมทางวิชาการ หรือการวางกรอบแนวคิดที่ไม่ผิดจรรยาบรรณทางวิชาชีพ (คัดลอกงาน) เป็นต้น โดยปีการศึกษา 2565 ได้ปรับปรุงหลักสูตรที่เพิ่มชุดวิชาใหม่ ได้แก่ ชุดวิชาดิจิทัลอาร์ต ศิลปะการถ่ายภาพ ชุดวิชาบูรณาการ เช่น ดิจิทัลเอเจนซี่ ภาษีอากรต่องานศิลปกรรมพื้นถิ่นเป็นต้น ซึ่งชุดวิชาดังกล่าวทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทักษะและความเคลื่อนไหวด้านสังคม
- จากวางแผนและกำหนดการจัดโครงการฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นจึงได้ดำเนินกระบวนการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา จึงได้จัดโครงการตามเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 4 กลุ่ม เป็นบูรณาการภายใต้โครงการในแต่ละด้านดังนี้
- การพัฒนาด้านทักษะและการเรียนและนวัตกรรม
อาจารย์ประจำหลักสูตรได้จัดกิจกรรมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักศึกษาในการเข้าสู่การทำงานซึ่งมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน เป็นกิจกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ผสมผสานด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ในช่วงหลังสถานการณ์โรคโควิท 19 แพร่ระบาด สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้นำปัญหาและแนวทางแก้ไขให้กับนักศึกษา ซึ่งจัดโครงการเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่นักศึกษา คือ โครงการแสดงนิทรรศการศิลปกรรมพื้นถิ่น ครั้ง 1 ศูนย์การค้ายูดีทาวน์ โดยนักศึกษาได้มีพัฒนาการและสร้างสรรค์ผลงานซึ่งมีอาจารย์ที่ปรึกษาควบคุม ดังนั้นการแสดงผลงานนักศึกษามีความสำคัญยิ่งในปัจจุบันที่ได้ทักษะประสบการณ์ด้านงานสร้างสรรค์กับนวัตกรรมความเหมาะสมกับสังคมปัจจุบันและอนาคต โดยมี อาจารย์ณัฐวัชร เดชมาลา เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ สำหรับการพัฒนาการแบบบูรณาการสาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นซึ่งเป็นโครงการร่วมกับหน่วยงานราชการระดับจังหวัด สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้มีส่วนรวมกิจกรรมโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานีทำหลักสูตรวิชาชีพ หลักสูตรดังกล่าวเปิดสอนระดับมัธยมปลายปีการศึกษา 2565 โดยสาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้จัดนักศึกษาเป็นวิทยากรเน้นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และปี4 ซึ่งอาจารย์เป็นผู้กำกับดูแล กิจกรรมดังกล่าวเป็นการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาที่ได้ประสบการณ์ในวิชาชีพความเป็นผู้นำซึ่งเป็นประโยชน์กับนักศึกษาที่จะนำความรู้ไปเมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตร
- การพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี
ในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปกรรมพื้นถิ่นได้ตระหนักถึงการพัฒนาด้านสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยีให้กับนักศึกษาซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในปัจจุบัน สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้กำกับอาจารย์ผู้สอนรายวิชาต่างๆ ของหลักสูตรเพิ่มเติมความรู้ด้านเทคโนโลยีสื่อสารสนเทศและหลักสูตรได้จัดวิชาเอกเป็นวิชาด้านคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ นิเทศศิลป์ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้สามารถสร้างนวัตกรรมได้ซึ่งมีความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในปัจจุบันอันเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ
ดังนั้น สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้จัดกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ชีวิตและการทำงานด้วยเทคโนโลยีสำหรับการสื่อสารสารสนเทศ ตลอดจนการเพิ่มพูนทักษะด้านเทคโนโลยี
อย่างเหมาะสมกับการพัฒนาทักษะวิชาชีพที่มีความแตกต่างและหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยให้นักศึกษาเลือกวิชาออกแบบคอมพิวเตอร์หรือวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ ประธานหลักสูตรมอบหมายให้ อาจารย์วราวุฒิ ทิวะสิงห์ เป็นผู้รับผิดชอบด้านการออกแบบผลิตสื่อต่างๆ โดยให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยีแอพพลิเคชั้นโทรศัพท์มือถือ แทบเล็ดในการออกแบบสร้างเป็นงานโฆษณาเชิงพาณิชศิลป์ ทั้งนี้กระบวนพัฒนาการเรียนรู้ทักษะด้านสารสนเทศ เทคโนโลยีนักศึกษาสามารถนำไปใช้กับวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ในรอบปีการศึกษา 2565 สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้ให้นักศึกษาออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2 แห่ง คือ พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี และบริษัทพีควัน การ์เมนท์ จังหัวดอุดรธานี สถานที่ดังกล่าวอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้พิจารณาแล้วว่าเป็นสถานที่ที่นักศึกษาสามารถได้ประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองด้านการออกแบบนิเทศศิลป์และสื่อประชาสัมพันธ์ ซึ่งนักศึกษามีความรู้ทักษะในรายวิชาของหลักสูตรมาก่อนเป็นพื้นฐานนำไปใช้กับวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพและประสบการณ์ดังกล่าวนำไปพัฒนาตนเมื่อจบหลักสูตร - การพัฒนาทักษะชีวิตและวิชาชีพ
ด้วยโครงสร้างหลักสูตรศิลปกรรมพื้นถิ่นมีวัตถุระสงค์มุ่งเน้นการเรียนการสอนด้านทักษะวิชาชีพ นอกจากนั้นยังเสริมสร้างทักษะชีวิตที่แทรกในรายวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตรโดยเน้นย้ำอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาอธิบายทักษะชีวิตให้นักศึกษาได้เรียนรู้ประสบการณ์การพัฒนาตนเองและการเข้าสังคมในการรับรู้สังคมที่มีความแตกต่างและหลากหลาย คือ 1) การปรับตัวเข้ากับสังคม 2) ปฏิสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรมทางเชื้อชาติ 3) ความรับผิดชอบตนเอง ด้านผู้นำและความรับผิดชอบต่อสังคม
สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นจึงตระหนักถึงการพัฒนาทักษะชีวิตและวิชาชีพของนักศึกษาโดยได้จัดให้มีกิจกรรมเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ประธานหลักสูตรได้มอบหมายอาจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ อัครวัฒนากุล จัดโครงการอบรมศิลปะนิพนธ์นักศึกษาชั้นปี 4 ปีการศึกษา 2565 เป็นกิจกรรมของสาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นด้วยจุดประสงค์ให้นักศึกษาเตรียมความพร้อมการทำผลงานศิลปนิพนธ์ทั้งด้านงานสร้างสรรค์และการเขียนเอกสารงานวิจัยเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและความสามัคคีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประกอบกับคำแนะนำอาจารย์ที่ปรึกษา ผลสัมฤทธิ์ นักศึกษาแสดงผลงานศิลปนิพนธ์สำเร็จตามเวลาที่กำหนด
นอกจากนั้นนักศึกษาศิลปกรรมพื้นถิ่นได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้น อาทิ วันเฉลิมพระชนม์พรรษารัชกาลที่ 10 และสถาปนามหาวิทยาลัย สำหรับการมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาอาชีพอย่ายั่งยืน โดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นที่ปรึกษาโครงการ คือ เยาชนจิตอาสา อาจารย์วราวุฒิ ทิวะสิงห์ได้นำนักศึกษาที่เรียนวิชาถ่ายภาพเข้าร่วมโครงการดังกล่าว
- สรุปผลการดำเนินโครงการและประเมินผลโครงการ
เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ/กิจกรรมในการพัฒนานักศึกษาที่จัดขึ้นแล้ว อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกับนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้ทำการสรุปผลการดำเนินโครงการและประเมินผลโครงการพร้อมทั้งระบุประโยชน์ที่ได้รับปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการหลักสูตรและผู้บังคับบัญชาในระดับสูงขึ้นเพื่อเป็นแนวทางพัฒนาโครงการของหลักสูตรในครั้งต่อไป
- วิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางปรับปรุงเพื่อพัฒนา
หลักสูตรได้นำสรุปผลการดำเนินงานและการประเมินผลโครงการมาทำการทบทวนวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันและหาแนวทางปรับปรุงเพื่อพัฒนาโครงการที่สามารถพัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้พร้อมก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างเหมาะสม โดยสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันซึ่งเป็นการดำเนินงานบริหารหลักสูตรในด้านศักยภาพในปี 2565 และปีถัดไป
- การพัฒนาด้านทักษะและการเรียนและนวัตกรรม
จุดเด่น และโอกาสในการพัฒนา
- จุดเด่น
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่น เน้นการศึกษาเฉพาะที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์และความหลากหลายของวิชาที่นักศึกษาสามารถเลือกเรียนตามความสนใจ แต่ด้วยสาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นเป็นหลักสูตรใหม่จึงมีนักศึกษาสมัครและรายงานตัวเข้าเรียนน้อยกว่าเป้าหมาย จึงสามารถดูแลและให้คำปรึกษานักศึกษาได้อย่างทั่วถึง และมีโอกาสในการไปประชาสัมพันธ์หลักสูตรอย่างสม่ำเสมอทั้งในสถาบันการศึกษาและสาธาณชนกิจกรรมทางสังคมในโอกาสต่างๆ อาจทำให้นักศึกษาเพิ่มมากขึ้นในปีการศึกษาต่อไป
- โอกาสในการพัฒนา
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาศิลปกรรมพื้นถิ่นมีแนวทางประชาสัมพันธ์หลักสูตรด้วยสื่อทุกช่องทางและการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์หลักสูตรที่ผลิตผลงานสร้างสรรค์และงานวิจัยเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นของผู้เรียน
ข้อมูลรายวิชา
ลำดับ |
รหัสรายวิชา |
ชื่อรายวิชา |
สถานะรายวิชา |
|
---|---|---|---|---|
เปิดสอน |
เนื้อหาครบ |
|||
1 |
AL50103 |
วาดเส้น 1 |
✓ |
✓ |
2 |
AL50101 |
การออกแบบ 1 |
✓ |
✓ |
3 |
AL40122 |
ประติมากรรม 1 |
✓ |
✓ |
4 |
AL41101 |
ศิลปะไทย 1 |
✓ |
✓ |
5 |
AL05502 |
เทคนิคประติมากรรม |
✓ |
✓ |
6 |
GE33001 |
วิทยาศาสตร์และประเด็นร่วมสมัย |
✓ |
✓ |
7 |
AL20110 |
รูปแบบและการวิเคราะห์ 2 |
✓ |
✓ |
8 |
AL59102 |
ภาพถ่ายดิจิตอล 1 |
✓ |
✓ |
9 |
AL04402 |
เพลาะ สลัก แกะ กลึง พุทธศิลป์ |
✓ |
✓ |
10 |
AL35105 |
การเขียนบทสำหรับสื่อ |
✓ |
✓ |
11 |
AL37109 |
การเล่าเรื่องและการออกแบบเพื่อการแสดง |
✓ |
✓ |
12 |
AL40104 |
องค์ประกอบศิลป์ |
✓ |
✓ |
13 |
AL09901 |
ตุ้มโฮม แนวคิด |
✓ |
✓ |
14 |
AL40110 |
การออกแบบสร้างสรรค์เศษวัสดุ |
✓ |
✓ |
15 |
AL30104 |
ศิลปะการแสดง |
✓ |
✓ |
16 |
AL01105 |
วัสดุเชิงช่างอีสาน |
✓ |
✓ |
17 |
GE44002 |
ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันและการทำงาน |
✓ |
✓ |
18 |
AL23106 |
ประวัติศาสตร์และวรรรณกรรมดนตรีหมอลํา 1 |
✓ |
✓ |
19 |
AL39111 |
การออกแบบองค์ประกอบการแสดง |
✓ |
✓ |
20 |
AL59101 |
คอมพิวเตอร์กราฟิก |
✓ |
✓ |
21 |
AL03303 |
ออกแบบพุทธสถาปัตย์ |
✓ |
✓ |
22 |
AL33101 |
ดนตรีพื้นบ้านประกอบการแสดง |
✓ |
✓ |
23 |
AL20111 |
การสอดประสานเสียง |
✓ |
✓ |
24 |
GE44001 |
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร |
✓ |
✓ |
25 |
AL50111 |
การออกแบบนิเทศศิลป์ 4 |
✓ |
✓ |
26 |
AL08803 |
คอมพิวเตอร์ เพื่อการนำเสนอ |
✓ |
✓ |
27 |
GE11001 |
ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น |
✓ |
✓ |
28 |
AL10102 |
การศึกษาเฉพาะบุคคล |
✓ |
✓ |
29 |
AL22102 |
ทฤษฎีดนตรีสมัยนิยม 2 |
✓ |
✓ |
30 |
AL30107 |
นาฏศิลป์ปริทรรศน์ |
✓ |
✓ |
31 |
AL11101 |
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพงานช่างและการออกแบบศิลปกรรม |
✓ |
✓ |
32 |
AL50113 |
โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานในงานออกแบบ |
✓ |
✓ |
33 |
GE44003 |
ภาษาอังกฤษเพื่อการนำไปใช้ |
✓ |
✓ |
34 |
AL33108 |
กลองยาวอีสาน การสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นบ้าน |
✓ |
✓ |
35 |
AL90101 |
ประวัติศาสตร์ศิลปะพื้นถิ่น |
✓ |
✓ |
36 |
AL20103 |
สุนทรียศาสตร์ดนตรี |
✓ |
✓ |
37 |
AL38108 |
การประพันธ์และการขับร้องกาพย์เซิ้งอีสาน |
✓ |
✓ |
38 |
AL05503 |
การสร้างสรรค์ประติมากรรม |
✓ |
✓ |
39 |
AL06603 |
ออกแบบ และสร้างสรรค์ ร้อย ปัก ถัก ทอ |
✓ |
✓ |
40 |
AL40103 |
สุนทรียศาสตร์ |
✓ |
✓ |
41 |
AL20109 |
รูปแบบและการวิเคราะห์ 1 |
✓ |
✓ |
42 |
AL09902 |
ตุ้มโฮม ทักษะ |
✓ |
✓ |
43 |
AL30113 |
ศิลปะและวัฒนธรรม |
✓ |
✓ |
44 |
AL30103 |
การวิเคราะห์และวิจารณ์ศิลปะการแสดง |
✓ |
✓ |
45 |
AL50204 |
วาดเส้น 2 |
✓ |
✓ |
46 |
AL81106 |
การศึกษาเฉพาะบุคคลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะ |
✓ |
✓ |
47 |
AL30118 |
เทคโนโลยีเพื่อการแสดง |
✓ |
✓ |
48 |
AL50110 |
การออกแบบนิเทศศิลป์ 3 |
✓ |
✓ |
49 |
GE33002 |
รู้ทันโลกดิจิทัล |
✓ |
✓ |
50 |
AL30105 |
หลักการจัดการแสดง |
✓ |
✓ |
51 |
GE22001 |
ความดีงามแห่งชีวิต |
✓ |
✓ |
52 |
AL50107 |
การเขียนแบบเบื้องต้น |
✓ |
✓ |
53 |
AL07703 |
เครื่องเงินเครื่องทอง |
✓ |
✓ |
54 |
AL23111 |
การขับร้องหมอลำ 1 |
✓ |
✓ |
55 |
AL50102 |
การออกแบบ 2 |
✓ |
✓ |
56 |
AL90203 |
ภาษาอังกฤษสำหรับงานศิลปกรรมพื้นถิ่น |
✓ |
✓ |
57 |
AL58101 |
ศิลปะภาพถ่าย |
✓ |
✓ |
58 |
AL90102 |
การคิดการออกแบบ |
✓ |
✓ |
59 |
AL50108 |
การออกแบบนิเทศศิลป์ 1 |
✓ |
✓ |
60 |
AL02203 |
ฮูบแต้ม สร้างสรรค์ |
✓ |
✓ |
61 |
AL04403 |
ออกแบบเพลาะ สลัก แกะ กลึง |
✓ |
✓ |
62 |
AL30101 |
ประวัติศิลปะการแสดงตะวันตกและตะวันออก |
✓ |
✓ |
63 |
AL20108 |
การเรียบเรียงสําหรับวงออร์เคสตรา 2 |
✓ |
✓ |